ความรู้ทั่วไป ด้านโปรเจคเตอร์

โปรเจคเตอร์ (projector) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการแสดงภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เหมาะสำหรับการนำมาใช้ เสนองานหรือที่เราเรียกว่า Presentation หรืออาจนำมาทำเป็น Home Theater โดยปกติ โปรเจคเตอร์ สามารถนำมาต่อกับอุปกรณ์ได้หลายประเภท เช่น วีดีโอ วีดีโอซีดี หรือ ดีวีดี รวมทั้งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เนื่องจากราคาของโปรเจคเตอร์ค่อนข้างสูง ดังนั้นเราจึงควรพิถีพิถันในการเลือกซื้อ ซึ่งมีองค์ประกอบในการเลือก ดังนี้

ระบบเชื่อมต่อ 
สามารถนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เราต้องการได้หรือไม่ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ วีดีโอ เป็นต้น รวมทั้งสามารถต่อได้พร้อมๆ กันกี่อุปกรณ์ กล่าวคือ ก่อนเลือกซื้อเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ ควรพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้งานของเราร่วมด้วย เช่น ต้องการฉายภาพ VDO อย่างเดียว หรือ ต้องการฉายงาน Presentation อย่างเดียว หรือต้องการการ เชื่อมต่อแบบไร้สาย หรือ Wireless 

ความละเอียดในการแสดงผล
โดยจะเรียกความละเอียดว่า pixel หรือจุดในการแสดงผล ตัวอย่างเช่น 800 x 600 หรือ 1024 x 768 เป็นต้น โดยจะมีการเรียกความละเอียดเป็น VGA (640 x 480), SVGA (800 x600) , XGA (1024 x 768), SXGA (1280 x 1024) หรือมากกว่า แนะนำควรเลือกซื้อ ความละเอียดอย่างน้อย SVGA แต่ทั้งนี้ ความละเอียดในปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นไปมาก ดังนั้น ในสเป็ก มาตรฐาน นั้น ควรเริ่มตั้งแต่ ความละเอียดที่XGA ( 1024 X 768 ) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สเป็กที่เป็นมาตรฐานของ เครื่องโปรเจคเตอร์นั้น ควรเป็น XGA ( 1024 X 768 )

Compress Mode 
โปรเจคเตอร์ มักจะมีคุณสมบัตินี้ หมายถึง สามารถแสดงผลในความละเอียดที่ต่ำกว่าได้ เช่น ความละเอียดของโปรเจคเตอร์ 800 x 600 สามารถแสดงผลในความละเอียดสูง 1024x768 ได้ เป็นต้น กล่าวคือ หากใช้เครื่องที่มีความละเอียดต่ำ แต่ส่งสัญญาณเข้าสูงกว่า เครื่องรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ สามารถรับสัญญาณได้ แต่เป็นการบีบอัดสัญญาณ คุณภาพ ของภาพที่ได้ จะไม่คมชัดเท่ากับ สัญญาณที่ตรงกัน

จำนวนสี 
ความสามารถในการแสดงสี แสดงสีถึง 16.77 ล้านสี (มีลักษณะคล้ายๆ กับคอมพิวเตอร์)

Aspect ratio 
อัตราส่วนระหว่าง จำนวนจุดในแนวนอน กับ จำนวนจุดในแนวตั้ง ตัวอย่างเช่น ratio 4:3 หรือ 16:9เป็นต้น ซึ่ง ratio 4:3 จะเป็น ความละเอียด SVGA , XGA ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในเวลานี้ สำหรับ 16:9 เป็น ความละเอียด WXGA หรือเรียกว่า wide screen ที่ใช้ในภาพยนตร์ นั่นเอง

ความสว่าง หรือ Brightness
โดยจะมีหน่วยเป็น Ansi Lumen ถ้ายิ่งมาก จะสามารถแสดงภาพในห้องที่เปิดไฟได้ (ไม่จำเป็นต้องหรี่ไฟมาก ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สามารถจดข้อความต่างๆ ได้สะดวก) ตัวอย่าง ความสว่างที่เลือกใช้ เช่น 2000, 2500 Ansi Lumens เป็นต้น สำหรับความสว่างที่เป็นมาตรฐานนั้น จะเริ่มตั้งแต่ 2,000 Ansi Lumen ขึ้นไป ซึ่งความสว่างนี้ จะเป็นตัวระบุ การใช้ขนาดของจอร่วมด้วย เชน หากเป็นโปรเจคเตอร์ LCD ความสว่าง 2,600 Ansi Lumen จะใช้ได้ดีในจอรับภาพตั้งแต่ 70” จนถึง150” สำหรับห้องประชุม ที่ไม่สามารถคอนโทรลแสงได้ ( ถึงแม่สเป็ก จะระบุ ถึง 300 นิ้ว แต่ 300 นิ้วที่ระบุในสเป็กเป็น การระบระยะในการ โฟกัสภาพ และ ฉายได้จริง ในห้องที่สามารถคอนโทรลแสงได้ เช่นโรงภาพยนตร์ )