โปรเจคเตอร์ DLP VS LCD ต่างกันยังงัย ?

เทคโนโลยีที่แตกต่าง DLP และ LCD

LCD (Liquid Crystal Display) โปรเจคเตอร์ระบบนี้ถูกบรรจุด้วยแผ่นกระจก LCD สามแผ่นซึ่งแต่ละแผ่นจะมีสี แดง เขียว น้ำเงิน ในขณะที่แสงผ่านแผ่น LCD แต่ละ Pixel ของแผ่น LCD จะทำหน้าที่ในการอนุญาตให้แสงผ่านหรือปิดกั้นไม่ให้แสงผ่าน Pixel เล็กๆ เหล่านี้ก็เป็นเหมือนมู่ลี่นั่นเอง การทำงานลักษณะนี้ทำให้เกิดเป็นภาพขึ้นมา

DLP (Digital Light Processing) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Texas Instruments ซึ่งมีการทำงานที่แตกต่างไปจาก LCD แทนที่จะใช้แผ่นกระจก LCD ระบบ DLP ใช้ chip ที่ทำจากกระจกเล็กๆ จำนวนมากในการสะท้อนแสง กระจกแต่ละแผ่นเปรียบเสมือน Pixel หนึ่ง Pixel แสงจากหลอดภาพของโปรเจคเตอร์จะถูกส่งไปที่ผิวหน้าของ chip DLP กระจกเล็กๆ จะเปลี่ยนทิศทางไปมาเพื่อส่องแสงไปที่เลนส์และส่งแสงที่ไม่ต้อง การไปที่ตัวดูดซับแสง ใน DLP โปรเจคเตอร์ระดับสูงได้มีการใช้ chip DLP ถึงสาม chip สำหรับสี แดง เขียว น้ำเงิน อย่างไรก็ดีโปรเจคเตอร์ที่มีราคาไม่สูงส่วนใหญ่มีเพียง chip เดียว ในการกำหนดสีจะใช้วงล้อที่ประกอบขึ้นจากสี แดง เขียว น้ำเงิน และบางทีอาจใช้สีขาว สีเขียวแก่และสีเหลืองด้วย วงล้อสีนี้จะหมุนอยู่ระหว่างหลอดภาพกับ DLP chip เพื่อสร้างเป็นสีต่างๆส่งไปที่ chip กระจกเล็กๆบน chip จะคอยสะท้อนแสงสีต่างไปที่เลนส์ทำไห้เกิดเป็นภาพขึ้นมา เปรียบเทียบการทำงาน

ทั้งสองเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา ความแตกต่างของระบบทั้งสองลดน้อยลงมาก แต่สิ่งที่ยังพูดถึงกันบ่อยๆก็คือ

  • ข้อแรก LCD นั้นให้ภาพที่สวยงามมีสีสันที่เป็นธรรมชาติมากกว่า DLP ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจาก DLP chip เดียวถูกสร้างมาสำหรับตลาด Presentation สีขาวถูกเพิ่มเข้าไปในวงล้อสีทำให้ภาพสว่างขึ้นก็จริงแต่ก็ทำให้สีผิดเพี้ยน ไปด้วย ภาพที่ได้จาก DLP จึงไม่ค่อยอิ่มและสั่นซึ่งจะไม่ค่อยมีผลในการแสดงข้อมูลแต่เป็นสิ่งที่ต้อง คำนึงถึงเป็นพิเศษถ้าจะใช้โปรเจคเตอร์สำหรับสัญญาณภาพที่มีลายละเอียดมาก และเพื่อชดเชยข้อบกพร่องในเรื่องสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและเพื่อปรับปรุงการ แสดงสีให้ถูกต้องโปรเจคเตอร์ที่ถูกผลิตมาสำหรับ Home Theater และระบบวีดีโอคุณภาพสูงจะใช้วงล้อสีที่มีหกสี (Six-Segment) ซึ่งประกอบด้วยสี แดง เขียว น้ำเงิน สองชุดโดยได้ตัดสีขาวออกไป บางวงล้ออาจมีถึงเจ็ดหรือแปดสี ด้วยวงล้อสีนี้ช่วยเพิ่มความถูกต้องให้กับการแสดงสี
  • ข้อสอง ความแตกต่างอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือความคมชัดในการแสดง ข้อมูล LCD สามารถให้ภาพได้คมชัดกว่า DLP ในทุกๆ Resolution สังเกตได้จากการฉายภาพที่มีลายละเอียดของข้อมูลที่เป็นลายเส้น อย่างไรก็ดีไม่มีความแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดในการแสดงภาพวีดีโอ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า DLP จะแสดงภาพที่เป็นข้อมูลและลายเส้นไม่ได้เรื่อง DLP สามารถแสดงผลออกมาได้ชัดดีทีเดียวเพียงแต่เมื่อนำ DLP และ LCD ที่มี Resolution เท่ากันมาวางฉายคู่กัน จากการเปรียบเทียบแล้วดูเหมือนว่า LCD จะให้ความคมชัดมากกว่า
  • ข้อสาม LCD นั้นมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างที่ดี LCD สามารถผลิตแสงที่มีค่า ANSI Lumens ได้มากกว่า DLP ด้วยหลอดภาพที่กำลังไฟฟ้า (Watt lamp) เท่าๆกัน มีโปรเจคเตอร์จำนวนมากที่ถูกผลิตออกมาด้วยค่า 3000 – 6000 Lumens ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโปรเจคเตอร์ในระบบ LCD LCD จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อต้องการความสว่างมากๆ

ข้อด้อยของ LCD โปรเจคเตอร์มีอยู่สามข้อซึ่งจะเกี่ยวกับการแสดงภาพมากกว่าในเรื่องการแสดงข้อมูล

  • สามารถมองเห็นความไม่ ต่อเนื่องของ Pixel ได้ง่ายบนจอภาพ
  • ภาพที่ปรากฏบนจอภาพจะมีลักษณะเป็นตารางซึ่งเป็นผลมาจากมีช่องว่าง ระหว่าง Pixel มาก
  • มีค่า Contrast ต่ำ ที่ผ่านมา LCD โปรเจคเตอร์ไม่เป็นที่พอใจนักในหมู่ผู้ที่ชอบชมภาพยนตร์เนื่องมาจากเหตุผล เหล่านี้ อย่างไรก็ตามใน LCD โปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ๆจะพบว่าปัญหาเหล่านี้ได้ถูกลดน้อยลง ช่องว่างระหว่าง Pixel ถูกทำให้ลดลงและเพิ่มจำนวน Pixel ให้มากขึ้น เมื่อฉายภาพด้วยระยะที่เหมาะสมข้อเสียต่างๆเหล่านี้จะไม่ปรากฏให้เห็นเลย

DLP เทคโนโลยีนั้นสร้าง Pixel ด้วยกระจกเงาเล็กๆ จึงให้ภาพที่นุ่มนวลและมี Pixel ที่ชิดกันมากกว่า LCD ดังนั้นไม่ว่าจะด้วย Resolution ใด DLP จะเหนือกว่า LCD ในเรื่องการแสดง Pixel

ว่าด้วยเรื่อง Contrast ระบบ LCD นั้นยังล้าหลังและเป็นรอง DLP ในเรื่องนี้แต่ทั้งสองเทคโนโลยีก็ยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องเมื่อก่อน LCD โปรเจคเตอร์นั้นมีค่า Contrast ที่ 400:1 ซึ่งต่ำกว่า DLP อยู่เกือบเท่าตัว ปัจจุบันนี้ทั้งสองเทคโนโลยีได้เพิ่มค่า Contrast จนสูงขึ้นมาก DLP โปรเจคเตอร์ส่วนมากมีค่า Contrast อย่างต่ำอยู่ที่ 2000 :1 และสำหรับรุ่นพิเศษสำหรับ Home Theater มีค่า Contrast ถึง 5000:1 ส่วนทาง LCD ก็ได้เพิ่มค่า Contrast ให้มากขึ้นเช่นเดียวกัน LCD โปรเจคเตอร์มีค่า Contrast ที่ 1000:1 ขึ้นไปบางรุ่นมีค่า Contrast สูงถึง 6000:1ทีเดียว

เรื่องของน้ำหนัก ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนั่นเอง เนื่องจาก DLP ใช้ระบบการทำงานด้วย chip ที่มีขนาดเล็กไม่เหมือนกับ LCD ที่ต้องใช้แผ่นกระจก LCD ถึงสามแผ่น DLP โปรเจคเตอร์จึงมีน้ำหนักที่เบากว่า แต่ก็ไม่แน่เสมอไปทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีในการผลิตของแต่ละผู้ ผลิตโปรเจคเตอร์ด้วยเช่นกัน DLP กับปัญหา Rainbow Effect

เมื่อมีการพูดถึงข้อด้อยของ DLP ที่เกิดมาจากการใช้วงล้อสีในการสร้างภาพเป็นไปได้ว่าการทำงานลักษณะนี้ทำให้ เกิด “ Rainbow Effect ” เนื่องจากขณะที่วงล้อสีถูกทำให้หมุนเพื่อทำให้เกิดภาพอย่างต่อเนื่องอย่าง รวดเร็วนั้น ตาของเรามีความไวพอที่จะจับความเปลี่ยนแปลงได้ทัน ทำให้เราเห็นแสงลักษณะเหมือนสีรุ้งสะท้อนออกมาจากภาพ แต่ก็มีบางคนเท่านั้นที่จะเห็นความผิดปรกตินี้ได้ ส่วน LCD โปรเจคเตอร์นั้นมีวิธีการสร้างภาพด้วยสีที่แน่นอนโดยการสร้างสีจากสี แดง เขียว น้ำเงิน ไปออกเป็นภาพในช่วงเวลาเดียวกับ ผู้ที่ชมภาพจาก LCD โปรเจคเตอร์จึงไม่เห็นความผิดปรกตินี้เลย

Texas Instruments ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า แต่เดิมในยุคแรกของการผลิตนั้น DLP โปรเจคเตอร์ถูกผลิตขึ้นโดยมีการใช้วงล้อสีซึ่งหมุนด้วยความเร็ว 60 รอบต่อวินาที (60 Hz) ซึ่งจะเท่ากับ 3600 รอบต่อนาทีโดยเรียกว่า 1x ในระหว่างได้มีการออกวางจำหน่าย DLP โปรเจคเตอร์ในช่วงแรกนี้ก็ได้มีผู้พบเห็นความผิดปรกตินี้บ้างแล้ว ต่อมาในยุคที่สองวงล้อสีได้ถูกพัฒนาความเร็วขึ้นเป็น 2x ซึ่งจะเท่ากับ 120 Hz คือวงล้อสีจะหมุน 7200 รอบต่อนาที การเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นสองเท่านี้ทำให้คนส่วนใหญ่เห็นความผิดปรกติของภาพ น้อยลง ปัจจุบันนี้ Home Theater DLP โปรเจคเตอร์ถูกผลิตขึ้นโดยมีวงล้อสีที่มีถึงหกสี (Six-Segment) ซึ่งมีสี แดง เขียว น้ำเงิน สองชุด วงล้อสีนี้หมุน 120 Hz ซึ่งเท่ากับ 7200 รอบต่อนาที และเนื่องจากสีที่เพิ่มเป็นสองชุดในหนึ่งรอบนี้เองจึงถูกเรียกว่ามีความเร็ว เท่ากับ 4x ทั้งๆที่ความเร็วรอบยังเท่าเดิม เหตุผลใหญ่ที่ต้องใช้วงล้อที่มีหกสีและความเร็วรอบที่ 4x ก็เพื่อแก้ปัญหา “ Rainbow Effect ” นั่นเอง

LCD โปรเจคเตอร์แสดงภาพที่ซีดและจางลงเรื่อยๆเมื่อใช้งานไปสักระยะเวลาหนึ่งโดย เฉพาะกับแผ่น LCD สีน้ำเงิน ซึ่งก็มีผลในการจัด Balance ของสีทำให้ภาพมีสีผิดเพี้ยนไปและค่า Contrast ก็ตกลงด้วย แต่ก็ไม่ต้องตกใจกลัวจนไม่กล้าใช้ LCD เนื่องจากการจะเกิดกรณีเช่นนี้ได้คงต้องใช้เวลานานพอสมควรซึ่งอาจจะต้องใช้ เวลาเป็นปีๆ ทีเดียว

ทั้ง DLP และ LCD ต่างก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อความพึง พอใจของผู้บริโภค ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ต่างก็ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองให้ดีขึ้นและปรับ สิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดีสำหรับสถานที่ที่ใหญ่มากต้องการโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างมาก LCD โปรเจคเตอร์ยังเป็นผู้นำในด้านนี้อยู่ ในการใช้งานกับ Home Theater DLP โปรเจคเตอร์ยังนำหน้าอยู่เสมอในเรื่อง สี Contrast และคุณภาพของภาพซึ่งทำให้ผู้ที่ใช้ระบบ Home Theater ชื่นชอบอยู่เสมอ แต่ทุกวันนี้ช่องว่างระหว่างการเป็นผู้นำและผู้ตามของทั้งสองเทคโนโลยีนั้น ลดน้อยลงทุกที ทั้ง DLP และ LCD ต่างก็มีความสามารถให้ภาพที่มีคุณภาพระดับสูงสำหรับ Home Theater ได้อย่างสมบูรณ์แบบทีเดียว

สรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ ระบบ  LCD โปรเจคเตอร์  จะทำให้ได้ภาพที่สดใส และได้แสงของทุกเฉดสีที่สดใส แต่ขนาดความละเอียดของเส้น (Pixel) ยังมีความคมชัดน้อยกว่า ระบบ DLP  (ถ้าเทียบกันที่ความละเอียดเท่ากัน)  ดังนั้น ระบบ LCD เหมาะงานที่มีเรื่ีองของสีสันเข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น สำหรับโชว์สีสันของสินค้า หรือต้องการเน้นสีสันเป็นพิเศษ

โปรเจคเตอร์แบบ DLP คือ มีระยะห่างระหว่าง pixel น้อยกว่า ทำให้ภาพที่ได้มีความนุ่มนวล(smooth) และให้ contrast สูงกว่า เหมาะกับการชมภาพยนตร์ ดูหนัง  หรือการแสดงภาพตัวอักษร หรือ กราฟฟิก

DLP หรือ LCD เทคโนโลยีแบบใดจะดีกว่ากันนั้นคงจะต้องขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคนซึ่งจะเป็น ผู้เลือกว่าเทคโนโลยีแบบใดจะดีที่สุดสำหรับบุคคลนั้น